สมัยที่ “โต ติงต๊อง” ยังแบเบาะในฐานะ Sound Engineer นั้น การจ่อไมโครโฟนกับต้นเสียงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรี, เสียงพูด หรืออื่น ๆ เป็นสิ่งที่ทำให้อกสั่นขวันแขวนมาก เพราะความรู้ที่ได้มาจากอาจารย์หลายท่านจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “จ่อไมค์พลาดไปแค่เซนติเมตรเดียว เสียงเปลี่ยนได้เลยนะ!” จึงพยายามจำวิธีจ่อไมค์ต้นเสียงต่าง ๆ จนขึ้นใจ (กับสิ่งที่ทำเป็นประจำ) แล้วได้ค้นพบว่า…
- แม้ต้นเสียงชนิดเดียวกัน โครงสร้างทางกายภาพของมันยังมีจุด Sweet-Spot ให้จ่อไมโครโฟนไม่เหมือนกันอยู่ดี
- บางครั้งต้นเสียงมันขยับไปมาไม่อยู่กับที่ เสียงต้องเปลี่ยนบ้างเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (เว้นแต่จะติดไมค์ไว้กับต้นเสียง)
- วิธีจ่อไมโครโฟนที่เรียนต่อ ๆ กันมานั้น ไม่สามารถนำมาใช้งานได้เป๊ะ ๆ ในหลายกรณี เมื่ออ้างจากข้อ 1-2
“โต ติงต๊อง” จึงได้พยายามหาวิธีจ่อไมโครโฟนกับต้นเสียงต่าง ๆ ในอีกมุมมองนั่นคือเน้นการฟังเป็นสำคัญ จนได้เป็นแนวทางที่ใช้ติดต่อกันมากว่าสิบปีและสามารถนำไปใช้กับทุกต้นเสียงแม้จะไม่เคยทำงานกับมันมาก่อนก็ตามจ้าาา